IMDB : tt10309670
คะแนน : 8
[Review] รีวิว The Only Mom (2019) มาร-ดา หนังผีสยองขวัญในวัฒนธรรมเมียนมาร์ ถ่ายทำที่ประเทศเมียนมาร์ทั้งหมด และใช้นักแสดงเป็นชาวเมียนมาร์ทั้งหมด โดยมีผู้กำกับ ชาติชาย เกษนัส เขียนบท และช่างภาพไทย เป็นทีมสร้าง
มาร-ดา ป็นหนังแนวย้ายบ้านใหม่แล้วเจอผี ว่าด้วยความสัมพันธ์ของครอบครัว พ่อ แม่และลูกสาว พ่อมีอาชีพเป็นช่างถ่ายภาพ ส่วนแม่เป็นแม่บ้าน ครอบครัวนี้จำเป็นจะต้องย้ายบ้านเพื่อไปอยู่ใกล้ที่ทำงานของพ่อ ลักษณะของบ้านเป็นไม้บ้านเก่า สิ่งของเครื่องใช้แบบเดิม ๆ ยังอยู่ในบ้านครบ รูปภาพแบบเก่าแขวนอยู่เต็มผนัง แถมยังมีภาพถ่ายแบบกระจกเก็บไว้เป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่ถูกใจของพ่อที่มีอาชีพเป็นช่างภาพอย่างมาก
เมื่อย้ายเข้าไปอยู่บ้านใหม่จากเดิมที่ ศิริ ลูกสาวที่เคยใกล้ชิดสนิทสนมกับพ่อมากกว่าแม่ แต่เมื่อเธอกลับมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ศิริพูดคุยกับ ธิดา เพื่อนวัยเดียวกันที่พบเจอในบ้านใหม่นี้ ซึ่งเด็กทั้งสอง มีสนมกันอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญทั้งสองคนมีความสัมพันธ์ไม่ดีกับแม่ตนเองเช่นกัน
นานวันเข้า ศิริ มีอาการผิดปกติไป มีความสนิทสนมกับแม่มากกว่าพ่อ และไม่ชอบพ่อเอามาก ๆ ซึ่งเหมือนกับว่านี่ไม่ใช่ลูกสาวของเขา เขาต้องรู้ให้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับลูกสาวของเขา
หนังสร้างบรรยากาศความสยองขวัญได้ดี มีปมปัญหาค่อนข้างซับซ้อน มีความลับลมคม มีการค่อย ๆ สืบหาต้นตอที่มาที่ไป มีการสลับสารระหว่างอดีตกับปัจจุบันได้ดี มีวิธีการเล่าเรื่องและลับดับของเรื่องที่ค่อนข้างดีมาก และมีการเฉลยแบบการหักมุมจบ ส่วนสำคัญที่ดีในแบบที่หนังผีไทยเคยสร้างความดีงามกับแนวทางเอาไว้ในยุคหนังผีรุ่งเรือง เรียกได้ว่าหนังผีไทยในยุคปัจจุบันนับตั้งแต่ค่าย gth ปิดตัวลงไป หรือแม้แต่ค่าที่สร้างหนังผีอย่างสหมงคลฟิล์ม หรือไฟว์สตาร์โปรดักชั่น ก็หาแนวทางที่ดีงามแบบนี้แทบไม่เจออีกแล้ว สำหรับผมมองว่า มาร-ดา นำความรู้สึกของหนังผีดี ๆ แบบเก่าที่เคยดีงามครั้งอดีตกับคืนมา
การออกแบบผีดี การออกจังหวะดึงอารมณ์ความน่ากลัวดี และการสร้างจังหวะความตกใจทำได้ดี รวมถึงการให้โทนของสีหนังทำออกมาได้ดีดูแล้วทำให้เรารู้สึกคอยตามและรู้สึกเสื้อตัวละคร
นักแสดงเล่นดีทุกคน มีการนำเสนอความน่ากลัวระหว่างผีไปพร้อม ๆ กับมิติการเล่าเรื่องความสัมพันธ์ของครอบครัวได้ดี แถมยังให้ความสำคัญเกี่ยวกับเพศ สถานะ บทบาท หน้าที่ของการเป็นพ่อและแม่ และตั้งคำถามกับสังคมในประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ของครอบครัว
อย่างไรก็ตามอาจมีบางจุดที่ทำให้ผม รู้สึก เบื่ออยู่บ้างคือตรงความช้าของเรื่อง การเฉลยใหญ่ยังไม่รู้สึกว่าเอาเท่าที่ควร คำตอบที่ออกมาเหมือนกับภาพยนตร์แนวสยองฝรั่งบางเรื่องที่เคยดู ถ้าจะพูดแบบไม่สปอยล์เกินไปนัก มาร-ดา เป็นส่วนผสมของหนัง อารมณ์ อาถรรพณ์ อาฆาต (2002) ตอน going home ชัตเตอร์กดติดวิญญาณ (2004) และ Ghostland (2016) อย่างไรก็ตามผู้กำกับอาจจะได้หรือไม่ได้แรงบันดาลใจจากหนังทั้งสามเรื่องที่ผมยกมาเลยก็เป็นได้ นี่คือความรู้สึกส่วนตัวของผมหลังจากดูหนังเรื่อง มาร-ดา จบแล้วเท่านั้น
กล่าวโดยสรุป มาร-ดา เป็นภาพยนตร์ผีสยองขวัญที่มีความน่าสนใจในเรื่องการใช้บรรยากาศและวิธีการเล่าเรื่องที่ดี ทำให้เรา หันมามองภาพยนตร์หนังผีสยองขวัญไทยว่าสิ่งดีงามที่เคยมีมานั้น หายไปไหน